
(24 กุมภาพันธ์ 2565) ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมบรรยายในการประชุม “Technology and Innovation with equity – Perspectives from Asia and the Pacific” ซึ่งจัดโดย UNCTAD และ ESCAP

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD) และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – ESCAP) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติ (United Nations – UN) ได้ร่วมกันจัดการประชุมภายใต้หัวข้อ “Technology and Innovation with equity – Perspectives from Asia and the Pacific” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล


การประชุมนี้ มีการนำเสนอรายงาน 2 ฉบับ ได้แก่ Technology and Innovation Report 2021 ของ UNCTAD และ Frontiers of Inclusive Innovation Report ของ ESCAP ตามด้วยการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้กำหนดนโยบายจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงการใช้ผลประโยชน์และการจัดการความเสี่ยงของเทคโนโลยี้ขั้นแนวหน้า ซึ่ง ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สอวช. ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นผู้อภิปรายในหัวข้อ AI for Social Good ร่วมกับผู้แทนจากสิงคโปร์ อินเดีย และ Microsoft


ดร.กาญจนา ได้บรรยายถึงความสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมีการวางรากฐานในสังคม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงบทบาท ประโยชน์ และผลกระทบ โดย สอวช. ได้ร่วมจัดทำร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2564 – 2570 ซึ่งได้วางเป้าหมายในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการ AI โดยกระทรวง อว. ได้ริเริ่มโครงการ AI for All เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นและส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของกำลังคนในประเทศให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ไปประยุกต์ใช้ได้
ติดตามชมการประชุมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=iZz2OpaSxk8 และ
รายงาน Technology and Innovation Report 2021 ของ UNCTAD สามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://unctad.org/page/technology-and-innovation-report-2021
รายงาน Frontiers of Inclusive Innovation Report ของ ESCAP สามารถดาวน์โหลดได้ที่