1. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ อาทิ แนวคิดการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อน BCG Model (Bio – Circular – Green Economy Model)
1. ไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและผลิตวัคซีนระดับอาเซียน
2. ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออก Functional Ingredients 1 ใน 10 ของโลก
3. ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของ Sustainable Tourism ของโลก
4. ไทยสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเศรษฐกิจจุลินทรีย์
5. ไทยเปลี่ยนผ่านเป็นประเทศที่สร้างมูลค่าจากฐานสังคมคาร์บอนต่ำและการผลิตที่สะอาด
6. ไทยพัฒนาและผลิตยานสำรวจอวกาศ ที่วิจัยโดยคนไทยไปโคจรรอบดวงจันทร์
7. ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ด้านแบตเตอรี่ แพคกิ้ง และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า
8. ไทยมีผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (IDE) ที่มีรายได้ 1,000 ล้านบาท 1,000 ราย
9. คนจน 10 จังหวัดเป้าหมายพ้นเส้นความยากจน
10. ประเทศไทยเป็น Hub of Talent ในโลกตะวันออก
.
ผ่าน Platform รองรับความต้องการจากภาคอุตสาหกรรม ด้วยมาตรการ Thailand Plus Package ตามมติ ครม. เศรษฐกิจ ใน 2 มิติ ได้แก่
1. การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูงด้าน STEM
โดยบริษัทที่ส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจาก อว. สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ 250% (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564 – 31 ธ.ค. 2565) ซึ่งที่ผ่านมามีจำนวนหลักสูตรที่ผ่านการรับรอง 653 หลักสูตร มีผู้ผ่านการอบรม 15,388 คน มีบริษัทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ 608 บริษัท และมีหน่วยฝึกอบรมเข้าร่วม 65 หน่วยงาน
2. การส่งเสริมการจ้างงานบุคลากรผู้มีทักษะสูงด้าน STEM
โดยบริษัทในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จ้างพนักงานใหม่ด้าน STEM สามารถนำค่าจ้างพนักงานไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ 150% (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564 – 31 ธ.ค. 2565) ซึ่งที่ผ่านมามีการจ้างงานที่ผ่านการรับรองทั้งสิ้น 4,108 ตำแหน่ง มีบริษัทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ 100 บริษัท และสร้างรายได้รวมในปี 2565 ได้ทั้งสิ้น 360 ล้านบาท
– ผู้ให้ทุน ผู้รับทุน และผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย สามารถนำงานวิจัยไปต่อยอดเป็นงานวิจัยขั้นสูง แก้โจทย์ประเทศได้
– ภาคเอกชน บริษัทสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี หรือ Holding Company สามารถสร้างสินค้าและธุรกิจนวัตกรรมออกสู่ตลาดได้
– มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย นักวิจัย และวิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถนำงานวิจัยไปใช้เป็นนวัตกรรมเชิงสังคม เช่น บริการด้านสาธารณสุข การแพทย์ การศึกษา เป็นต้น
– นักวิจัย วิสาหกิจชุมชน สังคม ชุมชน และเกษตรกร สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่ได้จากงานวิจัยและนวัตกรรมในวงกว้างได้
นอกจากนี้ จากการดำเนินงานของ สอวช. ร่วมกับพันธมิตร ในช่วงระยะเวลาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ยังสามารถบรรลุเป้าหมายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา คิดเป็น 1.3% ต่อ GDP ผลักดันระเบียบร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. โดยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยจัดตั้งธุรกิจนวัตกรรม ลงทุนในผู้ประกอบการรายใหม่เพื่อให้นำผลงานวิจัยไปขยายผลและออกสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง รวมถึงส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า
ด้านการยกระดับฐานราก ได้ร่วมขับเคลื่อนการขจัดความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG การสร้างพลังให้ชุมชน สู่ผู้ประกอบการท้องถิ่นฐานนวัตกรรม
ด้านการสร้างคนให้ขับเคลื่อนประเทศ ได้ผลักดันให้เกิดแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาหรือ “Higher Education Sandbox” เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาได้ทดลองพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ออกแบบหลักสูตรได้โดยไม่มีข้อจำกัด ให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ รวมถึงร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มพัฒนาทักษะแห่งอนาคตรองรับการลงทุนภาคการผลิตและบริการ เป็นต้น
ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการนำ อววน. หนุนสู่เป้าหมาย GHG Net Zero อาทิ ร่วมขับเคลื่อน CE Innovation Solution Platform ขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG รวมถึงร่วมจัดทำ Roadmap นวัตกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
เพราะทุกก้าวของประเทศสําคัญเราจึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลลัพธ์ด้วยพลังจากนโยบาย อววน.