messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » โอกาสใหม่จากเวทีการประชุมเอเปค 2022 กับแนวทางแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย

โอกาสใหม่จากเวทีการประชุมเอเปค 2022 กับแนวทางแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย

วันที่เผยแพร่ 31 พฤษภาคม 2023 395 Views

โอกาสใหม่ที่ได้จากเวทีการประชุมเอเปค ครั้งที่ 33 กับแนวทางแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย

🔸 ย้อนไปในการประชุมเอเปค ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญสะท้อนหัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ให้สอดคล้องกับความท้าทายใหม่ และแนวทางการรับมือกับวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมีข้อสรุปที่เห็นตรงกันว่าควรมีการตั้งเป้าหมาย และการดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนร่วมกันในเขตเศรษฐกิจ และควรจัดกิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจใหม่ในภูมิภาค หาแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงพยายามตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานได้จริง และเกิดการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี ให้ทุกเขตเศรษฐกิจสามารถทำเศรษฐกิจหมุนเวียนร่วมกันได้ รวมถึงต้องมีตัวชี้วัดความก้าวหน้าตลอดการดำเนินงาน

🔸 จะเห็นได้ว่า “เศรษฐกิจหมุนเวียน” มีความสำคัญ และเป็นโอกาสที่ดีอย่างมาก ที่ประเทศไทยต้องเริ่มขยับตัวให้เร็วขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก สามารถปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มธุรกิจรูปแบบใหม่ กฎระเบียบและมาตรฐาน ตลอดจนความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

🔸 จากข้อสรุปเวทีการประชุมเอเปคข้างต้น สอวช. มีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งอยู่ในกระบวนการพัฒนาโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญในเขตเศรษฐกิจเอเปค อาทิ

🔹 โครงการพัฒนาโมเดลธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สำหรับ SMEs

🔹 โครงการสร้างแพลตฟอร์ม Knowledge Sharing สำหรับ APEC

🔹 โครงการ Circular Economy Technology Foresight โดย ศูนย์คาดการณ์อนาคต สอวช. ได้ร่วมกับเขตเศรษฐกิจไทเป ชิลี และอินโดนีเซีย สำรวจความต้องการ และโอกาสทางการตลาดของเทคโนโลยีที่มีความต้องการหรือจำเป็น และการประเมินศักยภาพด้านเทคโนโลยี รวมถึงการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับเขตเศรษฐกิจเอเปค พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน (Resilient and Sustainable Development) ของภูมิภาคเอเปค ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “Circular Economy Technology Foresight โดยผลลัพธ์ที่ได้ ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับการประชุมเอเปคที่ผ่านมา ซึ่ง สอวช. ได้มีส่วนในการเสนอประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าไปใน Bangkok Goals Statement ที่ย้ำเจตนารมณ์ร่วมของเอเปคในการผลักดันการฟื้นตัวจากโควิด-19 และขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาวที่ยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม ประกอบด้วยเป้าหมาย 4 ประการ คือ

🔹 1. การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

🔹 2. การสนับสนุนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน

🔹 3. การบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ

🔹 4. การลดและบริหารจัดการของเสีย

ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถนำไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศไทยเอง หากจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง ต้องดำเนินการใน 3 แนวทาง คือ

1. สร้างระบบนิเวศผ่านหน่วยงานและมาตรการต่าง ๆ โดย สอวช. ตั้งใจจะพัฒนาความร่วมมือกับหลายภาคส่วนตามแนวทาง CE Vision 2030 เพื่อให้ดำเนินการไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน

2. สนับสนุนผู้ประกอบการ โดย สอวช. ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สร้างขีดความสามารถและเครื่องมือที่เป็นสิ่งกระตุ้น (Incentive) ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับเอสเอ็มอีในการประกอบธุรกิจ

3. สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการทำแผนที่นำทางเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับเขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้เกิดการทำงานกับเครือข่ายในภูมิภาค ภายใต้บทบาทศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight)

แหล่งที่มา :

https://www.apec2022.go.th/th/the-33rd-apec-ministerial-meeting-amm-th/?fbclid=IwAR0gtf4cmyQvJMP5VgqkTScODlpzPIohRIJi3xQBocdXJSvLOXw9-qGci9k
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.apec.org%2Fmeeting-papers%2Fleaders-declarations%2F2022%2F2022-leaders-declaration%2Fbangkok-goals-on-bio-circular-green-(bcg)-economy%3Ffbclid%3DIwAR2FqbOK_YeStQZHF5RD2CG70OHBoORi3ChIfxayu2WROzsGTYjzkq8iwgY&h=AT29Cgr5A9GIJ6bq4mC9iJD1ZHRBBBxBZQJjNL3j7Cte1jgze6rV9nNSMzg2NPkg4fnY4Rp_CKEUxbJqsOkT4Ay_uDn3EGpKAxyiTtTuExj7Ld66H95AjfrYZTZKcKg13Xg3&tn=-UK-R&c[0]=AT2JeDnawsQJXg9o3pAEUJPyOo8CGac-HYFRcwF0fBabQb98ztXJTYIE-EBLieC0jqRcWHUCYj5rEBV-Pu9pzzCMTOAxZOXTybPNBxCIMGjI_ZXBdlwKvW6M5q6zNzaUsJSoM2X1pag-E59O9gKJltDhu52vyNUxDPj2XaybLKk-yKXCepPDFFcxIzWCBY-ylOafZqQ4Qo5C
https://www.nxpo.or.th/th/13982/
https://www.prd.go.th/…/category/detail/id/9/iid/136081

เรื่องล่าสุด