messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » กระทรวง อว. โดย สอวช. โดยศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค จัดการประชุม Kick off โครงการ APEC Science Technologyand Innovation Strategic Foresight

กระทรวง อว. โดย สอวช. โดยศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค จัดการประชุม Kick off โครงการ APEC Science Technologyand Innovation Strategic Foresight

วันที่เผยแพร่ 29 กันยายน 2023 710 Views

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight: APEC CTF) จัดการประชุม Kick off โครงการ APEC Science Technology and Innovation Strategic Foresight ร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566

โครงการ APEC Science Technology and Innovation Strategic Foresight เป็นโครงการที่จะนำเครื่องมือคาดการณ์อนาคตมาใช้เพื่อระบุวาระ (Agenda) สำคัญที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เสนอต่อ APEC Policy Partnership on Science, Technology and Innovation (PPSTI) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ในระดับ APEC โดยโครงการนี้ได้รับการรับรองจาก PPSTI แล้วเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ว่าเป็นโครงการของ APEC โดยจะต้องรายงานผลการดำเนินงานแก่ PPSTI ต่อไป

ในการประชุม Kick off โครงการร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ นี้คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคาดการณ์อนาคต (Foresight) จากหลายเขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจเกาหลี โดย ดร.พยองวอน พัค (Dr.Byeongwon Park), เขตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา โดย ดร.ราฟิค ดอสซานิ (Dr.Rafiq Dossani), เขตเศรษฐกิจแคนาดา โดย นายอิมราน อาร์ชาด (Mr. Imran Arshad), เขตเศรษฐกิจมาเลเซีย โดย ดร.ถาน ชู หยิ่ง (Dr. Tan Shu Ying) และเขตเศรษฐกิจไทย โดยมี ดร.นเรศ ดำรงชัย เป็นประธานคณะกรรมการ ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ เป็นรองประธานคณะกรรการ ดร.คมเมธ จิตวานิชไพบูลย์ เป็นเลขานุการและกรรมการ และ ดร.ฐิติมา สงเคราะห์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการและกรรมการ ทั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์อนาคตจากเขตเศรษฐกิจญี่ปุ่น ดร.คุนิโกะ อุระชิมะ (Dr. Kuniko Urashima) เข้าร่วมการประชุมในฐานะที่ปรึกษาอีกด้วย

คณะกรรมการฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงานของโครงการ และเห็นชอบที่จะใช้ประเด็น Net Zero มาเป็นประเด็นหลักในการทำงานเนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วนต่อทุกเขตเศรษฐกิจ และคาดหวังว่าผลที่จะได้รับจากโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดประเด็นสำคัญในแผนยุทธศาสตร์ของ PPSTI (PPSTI Strategic Plan) ฉบับต่อไป และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายที่เหมาะสมต่อบริบทของแต่ละเขตเศรษฐกิจใน APEC ต่อไป

เรื่องล่าสุด