กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมอภิปรายในงานประชุมเปิดตัวข้อมูลนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) บนแพลตฟอร์ม EC-OECD STIP Compass เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ผ่านระบบประชุมทางไกล
ดร.ปราณปรียา ศรีวรรณวิทย์ ลุนด์แบร์ย ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศ สอวช. ได้รับเชิญให้เป็นผู้ร่วมอภิปรายในงานประชุมเปิดตัวข้อมูลนโยบายด้าน วทน. บนแพลตฟอร์ม STIP Compass จากการรวบรวมผ่านแบบสำรวจ European Commission (EC) – OECD Science, Technology and Innovation Policy (STIP) Survey ประจำปี 2023 ซึ่งจัดโดย Directorate for Science, Technology and Innovation (DSTI) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) โดยมี Magda De Carli, Head of Unit / Deputy Director, DG Research and Innovation, EC; Joanna Drake, Deputy Director-General, DG Research and Innovation, EC และ Jerry Sheehan, Director, DSTI, OECD เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน จาก 49 ประเทศ เข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบสำรวจ EC-OECD STIP Survey และแพลตฟอร์ม STIP Compass
ในงานประชุมนี้ Andrés Barreneche, Economist / Policy Analyst, DSTI, OECD เป็นผู้นำเสนอข้อมูลภาพรวมนโยบายด้าน วทน. และโครงการและข้อริเริ่มสำคัญบนแพลตฟอร์ม STIP Compass ของประเทศสมาชิก OECD และประเทศที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ EC-OECD STIP Survey ซึ่งประกอบไปด้วยข้อริเริ่มกว่า 7,700 โครงการ บทวิเคราะห์เชิงนโยบายใน 350 ประเด็นย่อย และบทความตีพิมพ์โดย EC-OECD 8,000 บทความ จากการรายงานข้อมูลโดยบุคลากรภาครัฐกว่า 1,500 คนจาก 57 ประเทศ
ในช่วงการเสวนาหัวข้อ Dive deep into the exciting world of policy analysis with our expert panel ซึ่งดำเนินรายการโดย Alessandra Colecchia, Head of the Science and Technology Policy Division, DSTI, OECD ดร.ปราณปรียา ได้อภิปรายร่วมกับ Vasileios Gongolidis, Head of the Innovation Planning Division, General Secretariat for Research and Innovation, Greece; Amaya Ezcurra Martínez, Head of Area, Deputy Directorate of Planning, Monitoring and Evaluation for R&D and Innovation, Ministry of Science and Innovation, Spain; Sergio Di Virgilio, Policy Analyst, DG Research and Innovation, EC และ Jessica Ambler, Economist / Policy Analyst, DSTI, OECD
ดร.ปราณปรียา ได้กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ข้อมูลที่ปรากฏบน STIP Compass ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจการดำเนินงานของ สอวช. ทั้งข้อมูล Country Profile ของประเทศไทย และนโยบายด้าน วทน. ของนานาประเทศ รวมถึงได้ยกตัวอย่าง Thematic Portals ที่ประเทศไทยได้ร่วมสนับสนุนข้อมูล อาทิ Covid-19 Watch ซึ่งรวบรวมนโยบาย วทน. ที่ตอบสนองต่อภาวะโรคระบาดโควิด-19 ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขของโลกอย่างรุนแรง และ STI Policies for Net Zero ซึ่งรวบรวมนโยบาย วทน. ที่ผลักดันให้ประเทศมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้มีการรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุด
นอกจากนี้ ดร.ปราณปรียา ยังได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาแบบสำรวจ EC-OECD STIP Survey และการแสดงข้อมูลบนแพลตฟอร์ม STIP Compass เช่น การแสดงผลข้อริเริ่มที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการแล้ว การจัดกลุ่มข้อมูลหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อริเริ่มและโครงการต่าง ๆ เพื่อให้การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม STIP Compass มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Generative AI, Semantic Technology หรือ Large Language Models มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล
ทั้งนี้ การรวบรวมข้อมูลนโยบายด้าน วทน. ผ่านแบบสำรวจนี้ มีการเก็บข้อมูลทุก ๆ 2 ปี จากประเทศต่าง ๆ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ โดยแพลตฟอร์มนี้เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลนโยบายด้าน วทน. ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งฐานข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ประกอบการจัดทำรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนา วทน. (STI Outlook) และสนับสนุนการดำเนินโครงการ S&T Policy 2025 โดย OECD ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญผ่านการปฏิรูปนโยบาย วทน. ของภาครัฐ
สามารถเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุมเปิดตัวข้อมูลนโยบายด้าน วทน. บนแพลตฟอร์ม STIP Compass ได้ที่ https://www.oecd.org/sti/inno/unveilingthe2023stipcompassdata.htm
และเข้าถึงแพลตฟอร์ม STIP Compass ได้ที่ https://stip.oecd.org/stip/