สอวช. พาทุกคนมาสำรวจการพัฒนาบุคลากรไทย
ให้ตรงตามความต้องการของประเทศ พร้อมรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน

เริ่มจากการมองรอบตัวว่ามีสถานการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากำลังคน เช่น นักลงทุนไม่สามารถหาบุคลากรรองรับในสาขาที่ต้องการได้ จึงตัดสินใจไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ การผลิตบัณฑิตไม่สอดคล้องกับความต้องการ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายด้านจำนวนแรงงานบางสาขาไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน ส่วน Platform การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการลงทุนระยะยาวก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากสถานการณ์และความท้าทายดังกล่าวทำให้ สอวช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบแผนการพัฒนาแพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ พร้อมทั้งวางแผนภาพอนาคตในการพัฒนาบุคลากรของไทย ให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อความต้องการของประเทศและแข่งขันในเวทีโลก
5 สถานการณ์ที่สำคัญด้านกำลังคนที่ประเทศไทยต้องเผชิญในปัจจุบัน
นักลงทุนตัดสินใจไปลงทุนในประเทศอื่น เพราะไม่สามารถหาบุคลากรรองรับในสาขาที่ต้องการได้ เช่น บริษัทด้าน Advanced PCB ย้ายไปประเทศมาเลเซีย ส่วน Seagate นำฐาน R&D ไปประเทศอื่น และ Panasonic ปิดฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย และย้ายไปประเทศเวียดนาม
การผลิตบัณฑิตไม่สอดคล้องกับความต้องการ ภาคการศึกษาขาดความเข้าใจและข้อมูลความต้องการกำลังคนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจากสถานประกอบการ
นักลงทุนไม่ทราบช่องทางการประสานความร่วมมือกับภาคการศึกษาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ในการผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
ขาดตัวอย่างการผลิตกำลังคนรูปแบบใหม่ จำนวนต้นแบบการจัดการศึกษาและความร่วมมือระหว่างผู้ใช้บัณฑิต (Demand) และผู้ผลิตบัณฑิต (Supply) มีจำกัด
ขาดการดำเนินงานเชื่อมโยงในเชิงระบบ ขาดความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐที่มีบทบาทในการส่งเสริมด้านนโยบาย มาตรการและสิทธิประโยชน์ภาคการศึกษาและภาคเอกชนที่มีความต้องการกำลังคนเฉพาะทาง

ความท้าทายด้านการพัฒนากำลังคน
จำนวนแรงงานบางสาขาไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน เช่น สาขาดิจิทัล สาขาบริการทางการแพทย์และสุขภาพ สาขาปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
Platform การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการลงทุนในระยะยาวมีอยู่อย่างจำกัด และไม่ทันต่อความต้องการ

สอวช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
Incentive System อำนวยความสะดวกและส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุน โดยบูรณาการความร่วมมือ ในการพัฒนากำลังคนรูปแบบต่าง ๆ ไว้ที่เดียวกัน
Service & Co-creation ประสานและเชื่อมโยง Demand-Supply ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน
100% Online ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการผ่านระบบสารสนเทศ 100%
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนากำลังคนรูปแบบต่าง ๆ เช่น STEMPlus แนวทางการจัดการศึกษา Higher Education Sandbox การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) โครงการ Hi-FI Consortium โครงการ GenNX Model มาตรการ Thailand Plus Package และมาตรการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทักษะขั้นสูง เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.stemplus.or.th/detail_service/3

จากการดำเนินการพัฒนากำลังคนรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าว สอวช. ได้มุ่งเป้าให้เกิดภาพอนาคตในการพัฒนาบุคลากรของไทย ได้แก่
กำลังแรงงานมีสมรรถนะสูง ที่เพียงพอในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
การจ้างงานกำลังคนด้าน STEM ในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้ปรับเปลี่ยนจากฐานการผลิตไปสู่ฐานนวัตกรรม
หลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการ มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
หลักสูตรฝึกอบรมที่ทันสมัย ตามมาตรการ Thailand Plus Package เป็นหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของประเทศ เพื่อให้สามารถพัฒนาแรงงานได้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ
มีกลไกดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ด้วยกำลังแรงงานสมรรถนะสูงที่เพียงพอ เกิดการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาภายในประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่
การเติบโตทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโต มีขีดความสามารถการแข่งขันในระดับโลก และอุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี