messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » สอวช. เข้าร่วมการเสวนาผลักดันเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ จังหวัดสระบุรี

สอวช. เข้าร่วมการเสวนาผลักดันเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ จังหวัดสระบุรี

วันที่เผยแพร่ 17 สิงหาคม 2024 146 Views

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 จังหวัดสระบุรีได้มีการจัดงานเสวนา “การผลักดันการใช้เทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ณ บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด (R&I Center) อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เพื่อขับเคลื่อน Saraburi Sandbox ในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnerships: PPPs) โดยในการจัดครั้งนี้เป็นการมุ่งเน้นภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emission from Industrial Process and Product Use Sector: IPPU) และมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ผู้บริหารจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกและนำพาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน และมีผู้เข้าร่วมงานเสวนามากกว่า 80 ท่าน

การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี คุณพลวรรธน์ เทียนชัยมงคล กล่าวเปิดงานและวิดีโอแนะนำ “สระบุรีแซนบ็อกซ์” โดยภายในงาน ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่อความยั่งยืน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) บรรยายในหัวข้อ “Progress of Green Funding and Next Steps for Saraburi Sandbox” โดย ดร.ศรวณีย์ ได้กล่าวถึง การทำงานที่ดำเนินการร่วมกับ TCMA และ จังหวัดสระบุรี ที่ผ่านมา ภายใต้บทบาท สอวช. และการเป็นหน่วยประสานงานกลางด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (National Designated Entity: NDE Thailand) ซึ่งเป็นกลไลที่เชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีระดับนานาชาติและภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) รวมถึงได้กล่าวถึงแนวทางการเชื่อมโยงกับกลไกการเงินที่เข้ามาสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโอกาสการเข้าถึงการสนับสนุนจากกองการเงินสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) ที่เป็นกลไกการเงินภายใต้ UNFCCC ซึ่งในปัจจุบันมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงระหว่างกลไกเทคโนโลยีและกลไกทางการเงินนี้เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ในช่วงเวทีเสวนา “การให้ทุนและแนวทางในการปลดล็อกด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Process and Product Use Sector: IPPU) พาจังหวัดสระบุรีสู่เมืองคาร์บอนต่ำ” ดร.ศรวณีย์ ยังได้กล่าวถึงแนวทางต่อไปสำหรับโครงการ Saraburi Sandbox ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ ว่าต้องวิเคราะห์แนวทางการใช้เทคโนโลยีสำหรับ Saraburi Sandbox ให้ชัดเจน และอาจต้องดำเนินการจัดทำแผนที่นำทางเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อจัดลำดับความสำคัญการดำเนินงานรวมทั้งทรัพยากรที่เข้าสนับสนุนอย่างมีแบบแผน

เรื่องล่าสุด