นโยบายส่งเสริม Holding Company หรือ “การส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์” ได้สร้างความตื่นตัวให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาไปไม่น้อย ก่อนอื่นมาทวนกันก่อนว่า Holding Company คือ หน่วยธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของรัฐเพื่อทำหน้าที่บริหารการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมอย่างมืออาชีพ โดยบริหารการลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยออกไปจัดตั้งเป็นธุรกิจ (Spin-off) และลงทุนในงานวิจัยของผู้ประกอบการรายใหม่ให้ขยายผลและนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง รวมทั้งยังสามารถเข้าถึงทรัพยากรของมหาวิทยาลัยและเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับการสนับสนุนทางการเงินได้อย่างคล่องตัว
การดำเนินการที่สำคัญของ University Holding Company
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2566 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กรกฎาคม 2566)
- ระเบียบสภานโยบายฯ ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2566 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มกราคม 2567)
ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2567
ความสำเร็จที่ภาคภูมิใจของ University Holding Company
เกิดนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนของมหาวิทยาลัย จำนวน 11 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท CU Enterprise โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. บริษัท อ่างแก้ว โฮลดิ้ง โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. บริษัท M Venturer โดย มหาวิทยาลัยมหิดล (อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง)
4. บริษัท นววิวรรธ โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5. บริษัท TUIP โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. บริษัท KUniverse โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. บริษัท TSU Enterprise โดย มหาวิทยาลัยทักษิณ
8. บริษัท KMIT Ladkrabang โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
9. บริษัท PSU Holding โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
10. บริษัท MAGROW Holding โดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11. บริษัท SUTx โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2567
ก้าวต่อไปสู่อนาคตของ University Holding Company
ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2567
ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับ University Holding Company ต่อได้ที่