messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » กระทรวง อว. โดย สอวช. ร่วมกับวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมวิพากษ์สินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดจีน ณ อาคารเรียนวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กระทรวง อว. โดย สอวช. ร่วมกับวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมวิพากษ์สินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดจีน ณ อาคารเรียนวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่เผยแพร่ 22 ตุลาคม 2024 308 Views

เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นำโดย นางสาวมนันยา ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบนิเวศส่งเสริมศักยภาพนวัตกรรมของผู้ประกอบการ สอวช. และ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมภูมิภาคด้วยกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมจัดกิจกรรมวิพากษ์สินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดจีน เพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม ณ อาคารเรียนวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ. ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และกลุ่มผู้ประกอบการจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 และ 2 และอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าร่วมกิจกรรมทั้งรูปแบบ Onsite และ Online

ทั้งนี้ นางสาวมนันยา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากลไกที่จะช่วยผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการต่อยอดนำสินค้าที่พัฒนาขึ้นออกสู่ตลาดได้ โดยเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมและสร้างเสริมประสบการณ์แก่ผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจในตลาดประเทศจีนมากขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการนำสินค้าและบริการของไทยเข้าสู่ตลาดประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ โดยปัจจุบันประเทศจีนได้ประกาศให้ Cross-Border E-commerce (CBEC) เป็นกลยุทธ์หลักในการส่งเสริมการส่งออกและนำเข้าสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศสามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้ง่ายขึ้นภายใต้กฎระเบียบที่ผ่อนคลายกว่าการนำเข้าแบบปกติ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงตลาดและติดต่อผู้บริโภคปลายทางได้โดยตรงผ่านช่องทางที่มีต้นทุนต่ำกว่าการตลาดแบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ กระทรวง อว. ซึ่งมีสถาบันวิจัยและนวัตกรรมและสถาบันความรู้กระจายในแต่ละภูมิภาค มีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดทั้งมีกลไกสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะอุทยานวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็น Innovation Hub สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจนวัตกรรมของภูมิภาค นอกจากนี้ การดำเนินงานภายใต้โครงการนี้ จะมีการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการสนับสนุนผู้ประกอบการในการขยายตลาดผ่านรูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ/คลัสเตอร์เป้าหมายในพื้นที่ผ่านการเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาและปรับปรุงสินค้าให้สอดคล้องกับตลาดปลายทาง การตลาดดิจิทัล การค้าอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

ต่อมา ดร.ดนัยธัญ ได้กล่าวถึงภาพรวมการจัดกิจกรรมวิพากษ์สินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดจีน ที่จัดขึ้น ในระยะเวลา 2 วัน โดยเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้านวัตกรรมไทยที่ได้รับการพัฒนาจากการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ผ่านกลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ได้รับการวิพากษ์จากผู้วิพากษ์ชาวจีนที่มีความเชี่ยวชาญด้านตลาด E-commerce และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวนี้มีผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยเข้าร่วมนำเสนอสินค้ากว่าร้อยราย โดยได้รับความเห็นเกี่ยวกับสินค้าของตนในแง่ศักยภาพทางการตลาดในประเทศจีน รวมถึงคำแนะนำในการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีน เพื่อให้สามารถเตรียมแนวทางการวางแผนในการขยายตลาดในอนาคตต่อไป

ขอบคุณภาพจาก: ศูนย์ China Intelligence Center (CIC)

เรื่องล่าสุด