messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » กระทรวง อว. โดย สอวช. เผยแพร่ผลการศึกษา “Development of a national hydrogen strategy and action plan for accelerating Thailand’s net-zero target” ภายใต้การสนับสนุนกลไกเทคโนโลยี (Technology Mechanism) จาก UNFCCC

กระทรวง อว. โดย สอวช. เผยแพร่ผลการศึกษา “Development of a national hydrogen strategy and action plan for accelerating Thailand’s net-zero target” ภายใต้การสนับสนุนกลไกเทคโนโลยี (Technology Mechanism) จาก UNFCCC

วันที่เผยแพร่ 13 พฤศจิกายน 2024 11 Views

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลางด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (National Designated Entity: NDE) ภายใต้กลไกเทคโนโลยี (Technology Mechanism) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technical Assistance) ในโครงการ “Development of a national hydrogen strategy and action plan for accelerating Thailand’s net-zero target” ดำเนินการศึกษาโดยนักวิจัยนโยบายเทคโนโลยีสีเขียวจาก National Institute of Green Technology (NIGT) สาธารณรัฐเกาหลี เป็นการศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ทั้งในมิติความพร้อมเทคโนโลยี มิติความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ของประเทศต่อไปได้

ทั้งนี้ โครงการได้มีการเข้ามาเก็บข้อมูลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญในช่วงกลางปี 2567 ที่ผ่านมา และเผยแพร่รายงานการศึกษาผ่านทางเว็บไซต์ https://www.ctc-n.org/technical-assistance/projects/development-national-hydrogen-strategy-and-action-plan-accelerating เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจต่อไป โดยรายงานที่ส่งมอบประกอบไปด้วย 6 ส่วนสำคัญ ดังนี้

  1. รายละเอียดแผนการทำงานที่ NIGT ออกแบบร่วมกับ NDE Thailand
  2. รายงานการประเมินศักยภาพโดยรวมของการใช้ไฮโดรเจนใน 3 ภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
  3. รายงานด้านการผลิตไฮโดรเจนในส่วนของแหล่งทรัพยากรการผลิต เทคโนโลยีการผลิต และการวิเคราะห์ด้านราคา
  4. แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านไฮโดรเจน และแผนปฏิบัติการสำหรับประเทศไทย
  5. แบบร่าง GCF Concept Note
  6. รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักนโยบาย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านไฮโดรเจนของประเทศไทย

โดยผลลัพธ์จากการศึกษานี้จะถูกนำไปจัดทำข้อเสนอแนะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology & Innovation) และขอรับการสนับสนุนจากกลไกการเงินภายใต้ UNFCCC และทางสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป โดย สอวช. จะทำงานร่วมภาคีเครือข่ายด้วยการใช้บทบาท NDE Thailand และหน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ด้าน อววน. ในการดำเนินงาน

เรื่องล่าสุด