messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » รู้จักโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

รู้จักโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

วันที่เผยแพร่ 28 เมษายน 2021 27867 Views

วันนี้จะพามารู้จักกับโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการดีๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์

● ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator

● การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data)

● ให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณทิตใหม่ และ นักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน

● ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน

โดยในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ

1. มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล

2. มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน อาทิ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

3. มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล

4. มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่

5. มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

6. มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน

ผลผลิตของโครงการ U2T

1. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย

2. เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยในระยะแรกดำเนินการใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

2.1 ส่วนการปฏิบัติงานตามภารกิจ อว. ในภาพรวม คือ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ในการวางแผนและตัดสินใจ เพื่อจัดทำนโยบาย แนวทาง และงบประมาณสนับสนุน (เป็นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย) การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่ การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโลก การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่) โดยร่วมกับ ศบค. และการจัดทำข้อมูลราชการในพื้นที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digitalizing Government Data) ร่วมกับ กพร.

2.2 ส่วนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย รวมถึงเกิดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ รายตำบลตามโจทย์ปัญหาต่างๆของแต่ละตำบล ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) การนาองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)

3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน.สอวช. สนับสนุนแนวทางส่งเสริมและผลักดันการพลิกโฉมการอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนบทบาทให้ตอบโจทย์ทั้งการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังว่าชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ของประเทศจะมีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้วยการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง

Tags:

เรื่องล่าสุด