messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » Non-Cognitive Competency เช็กสมรรถนะเชิงพฤติกรรมที่สำคัญของอาชีพยุคอุตสาหกรรม 4.0

Non-Cognitive Competency เช็กสมรรถนะเชิงพฤติกรรมที่สำคัญของอาชีพยุคอุตสาหกรรม 4.0

วันที่เผยแพร่ 19 พฤษภาคม 2021 1348 Views

วันนี้ สอวช.จะพามารู้จักกับโครงการการศึกษาและสำรวจระดับความสำคัญของสมรรถนะ (Non-Cognitive Competency) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการพัฒนาด้านสมรรถนะทางอาชีพอย่างแท้จริงโดยประเทศไทยมีภารกิจมุ่งมั่นพัฒนาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0

ในการขับเคลื่อนประเทศจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพในอนาคตควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่าบุคลากรสายอาชีพไหนที่น่าสนใจและมีความสำคัญต่อยุคอุตสาหกรรม 4.0 บ้าง ?

เราขอยกเป็น 3 อาชีพตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ

อาชีพแรก คือ วิศวกรหุ่นยนต์ หรือ Robot Engineer อยู่ในหมวดอุตสากรรมดิจิทัลและหุ่นยนต์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งในปัจจุบันและในอนาคต มนุษย์จำเป็นต้องมีหุ่นยนต์ไว้ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย แต่ปัญหาที่เรากำลังพบเจอตอนนี้คือการขาดแคลนแรงงานเฉพาะด้าน เพราะต้องใช้ความเชี่ยวชาญ อาชีพนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้

อาชีพที่สอง อาชีพพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Scientist เราทุกคนอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เป็นอาชีพที่อาศัยทักษะการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ประโยชน์ให้ตรงจุด โดยผ่านกระบวนการเก็บและจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้ว จึงนำสิ่งเหล่านั้นมาช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ การพัฒนาสินค้า บริการ รวมทั้งทำนายผลประกอบการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อาชีพสุดท้ายคือ อาชีพนักออกแบบอาหารหรือที่เรียกกันว่า Food Designer เป็นอาชีพที่ต้องใช้การบูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่เพียงแต่จะต้องปรุงอาหารออกมาให้รสชาติดีอย่างเดียวแต่จะต้องมีทักษะด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ทางอาหารด้วย เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปอาหารของคนไทย

แล้วตัวงานวิจัย Non – Cognitive Competency มีจุดประสงค์อะไร ?จุดประสงค์คือการประเมินสมรรถนะเชิงพฤติกรรมที่สำคัญของแต่ละอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงสมรรถนะที่สำคัญจากทั้งความคาดหวังของนายจ้างและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำงานในกลุ่มอาชีพนั้น ๆ พร้อมทั้งมีการประเมินจากนายจ้างว่าพนักงานในปัจจุบันมีสมรรถนะดังกล่าวอยู่ในระดับใด เพื่อให้เห็นช่องว่าง และพัฒนาได้ถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสะท้อนศักยภาพของบุคลากรให้กับสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงหลักสูตรหรือกิจกรรมให้ยกระดับการพัฒนากำลังคนได้ถูกต้อง เหมาะสม ตามความต้องการของแต่ละอาชีพ

โดยจากการระดมความคิดเห็น (Focus Group) จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง พบว่าทั้งภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมให้ความเห็นว่าทั้ง 3 อาชีพ คือ วิศวกรหุ่นยนต์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และนักออกแบบอาหาร ถือว่าเป็นตัวแทนของอาชีพในอนาคต เพราะเป็นอาชีพใหม่ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งเมื่อพิจารณาแยกตามรายการสมรรถนะของแต่ละอาชีพ อ้างอิงตามความคิดเห็นจากภาคอุตสาหกรรม สามารถสรุปผลความสำคัญของสมรรถนะได้ดังนี้อาชีพวิศวกรหุ่นยนต์ มีระดับสมรรถนะที่มีความสำคัญมากที่สุด 5 ระดับ คือ

1) ความอดทนเพียรพยายาม (Patience and Persistence)

2) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking and Innovation)

3) การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Integration)

4) การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

5) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้วยกรอบความคิดแบบเติบโต (Active Learning with a Growth Mindset)

อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล มีระดับสมรรถนะที่มีความสำคัญมากที่สุด 5 ระดับ คือ

1) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

2) การคิดเชิงระบบและประเมินผล (System Analysis and Evaluation)

3) การแยกแยะข้อมูลสำคัญ (Great Data Intuition)

4) ทักษะการเชื่อมโยง (Associative skill)

5) การแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex Problem Solving)

6) การนำเสนอและสื่อสารข้อมูลให้เห็นภาพ (Data visualization and Presentation)

อาชีพนักออกแบบอาหาร มีระดับสมรรถนะที่มีความสำคัญมากที่สุด 5 ระดับ คือ

1) จิตสำนึกด้านการบริการ (Service Mind)

2) การให้คำปรึกษา (Consulting)

3) ความคิดเชิงนวัตกรรมด้านอาหาร (Food Innovation Thinking)

4) การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning)

5) ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)

6) การวิเคราะห์แนวโน้มของอาหาร (Trend of Food Analytic)

สรุปคือการสำรวจเชิงลึกกับความคาดหวังของนายจ้างในทั้ง 3 กลุ่มอาชีพ พบว่ามีความแตกต่างและความสอดคล้องกันบางอย่างอยู่บ้างอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์ นายจ้างยังคงต้องการสมรรถนะของความอดทนเพียรพยายามมากที่สุดอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นายจ้างต้องการสมรรถนะเรื่องความซื่อสัตย์ และจริยธรรม (High Integrity and ethical) สูงสุด อาชีพนักออกแบบอาหารที่นายจ้างต้องการสมรรถนะด้านจิตสำนึกด้านการบริการมากที่สุด

ผู้ประกอบวิชาชีพทั้ง 3 อาชีพ สามารถพัฒนาสมรรถนะของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถให้กับตนเอง รวมถึงสถาบันการศึกษาควรมุ่งเน้นกิจกรรมผู้เรียนด้วยเพื่อปรับตัวสู่ยุค 4.0 พร้อมต่อการทำงานในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก :นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ทรูปลูกปัญญา

Tags:

เรื่องล่าสุด