messenger icon
×

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564


หน้าหลัก » พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

ประเทศไทยมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาปีละประมาณ 114,000 ล้านบาท (ปี 2559) คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในจำนวนนี้ลงทุนโดยภาครัฐร้อยละ 27 หรือคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 30,600 ล้านบาท ที่ผ่านมาการลงทุนโดยภาครัฐยังไม่สามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการตั้งแต่การขาดความเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐ เอกชนและมหาวิทยาลัย การลงทุนวิจัยที่กระจัดกระจายเป็นโครงการขนาดเล็กในหลายหน่วยงาน การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรระดับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์สูง และการขาดแคลนความรู้ระดับต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังมีสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควรคือ ผู้ทำวิจัย อันได้แก่ หน่วยงานวิจัย และนักวิจัย ขาดแรงจูงใจในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และขาดกฎหมายและระเบียบที่เอื้อต่อการสร้างผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 อนุมัติและรับทราบหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ซึ่งมีหลักการสำคัญเพื่อขจัดอุปสรรคในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยการมอบสิทธิความเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานให้ทุนของรัฐ ให้แก่ผู้รับทุนซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย เมื่อมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเป็นเจ้าของผลงานวิจัย จะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไปยังภาคเอกชนเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้า บริการ และออกขายในตลาดต่อไปได้อย่างคล่องตัว โดยมีนักวิจัยในสังกัดสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ทำวิจัยทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ไปยังภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้รับเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นได้โดยตรง และไม่ติดกับกฎระเบียบของหน่วยงานให้ทุนในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจะได้รับรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ และจะต้องจัดสรรรายได้ให้กับนักวิจัยในสัดส่วนที่เหมาะสม เมื่อนักวิจัยได้รับส่วนแบ่งรายได้ก็จะเกิดแรงจูงใจในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการ ยิ่งไปกว่านั้น หากนักวิจัยจะนำเอาผลงานวิจัยนั้นไปต่อยอดและทำธุรกิจเองโดยตั้งเป็นบริษัทก็สามารถทำได้ หรือหากผู้ประกอบการ Startup สนใจทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นก็สามารถทำได้รวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .… ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 494 เสียง

ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และอินเดีย ได้มีการประกาศใช้เป็นเวลานานแล้ว ในสหรัฐอเมริกาประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้มาเกือบ 40 ปีแล้ว (ในปี ค.ศ. 1980  หรือ พ.ศ. 2523) ซึ่งส่งผลให้การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มมากขึ้น เกิดทรัพย์สินทางปัญญากว่า 13,600 ฉบับ มหาวิทยาลัยยื่นจดสิทธิบัตรประมาณ 3,000 ฉบับต่อปี และเกิดบริษัทตั้งใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัย 5,000 บริษัท รวมถึงมีการจ้างงานจากเทคโนโลยีที่เกิดจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 250,000 อัตรา ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้สหรัฐอเมริกามีฐานความสามารถทางเทคโนโลยีในอันดับต้นๆ ของโลก

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. นี้ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดระบบนวัตกรรมที่สมบูรณ์ โดยผลกระทบสำคัญที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อระบบวิจัยและนวัตกรรม มีดังนี้

  1. เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ทำให้โอกาสเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชนเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
  2. สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้รับทุนในการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของตลาด
  3. ส่งเสริมให้เกิดบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แยกตัวออกจากมหาวิทยาลัยและมีนักวิจัยเข้าร่วม (Spin-off) จำนวนมากขึ้น
  4. กระตุ้นให้หน่วยงานผู้รับทุนสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ทำให้ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
  5. เกิดธุรกิจจัดตั้งใหม่ Startup ที่ขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้นในระบบวิจัยและนวัตกรรม  มีสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และมีรายได้กลับคืนสู่รัฐในรูปภาษี ค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆ มากขึ้น ซึ่งสามารถนำกลับมาสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาให้แก่ประเทศต่อไปได้อีก
  6. สามารถพิสูจน์ได้ว่าการลงทุนด้านการวิจัยที่รัฐได้ให้งบประมาณสนับสนุนไปนั้นคุ้มค่าและไม่สูญเปล่า สามารถสร้างให้เกิดรายได้แก่ประชาชนคนไทย สร้างให้เกิดวัฒนธรรมการแข่งขันกันด้วยความรู้และเทคโนโลยี เกิดเป็นสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนให้ระบบนวัตกรรมของประเทศสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไปอีกนั้น เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้แล้ว จะต้องมีการเร่งสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม สามารถบริหารจัดการนวัตกรรมได้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ ช่วยสนับสนุนการทำงานทั้งของภาคการวิจัยและภาคอุตสาหกรรมให้ได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยอย่างเต็มที่ สามารถนำรายได้กลับเข้าสู่ประชาคมวิจัยได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม บริษัทเอกชนให้นำเอาผลงานวิจัยไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะให้การสนับสนุน โดยร่วมกับภาคเอกชน จัดโปรแกรมสร้างนักถ่ายทอดเทคโนโลยี นักบริหารจัดการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เป็นไปได้อย่างครบวงจรยิ่งขึ้น 

การเปิดเผยเอกสาร Bayh – Dole Act

สิ่งที่ส่งมาด้วย-6-สรุปผลรับฟังความเห็น-1

รายงานการวิเคราะห์ผลกร