messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » สอวช. ร่วมการเสวนา การจัดทำแผนที่นำทาง NQI เพื่อสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่แข่งขันได้ทันเวลา

สอวช. ร่วมการเสวนา การจัดทำแผนที่นำทาง NQI เพื่อสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่แข่งขันได้ทันเวลา

วันที่เผยแพร่ 1 กันยายน 2023 295 Views

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมการเสวนา การจัดทำแผนที่นำทาง NQI ระบุผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมระบบคมนาคมแห่งอนาคตของไทย ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์และมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพสนับสนุนอีกเป็นจำนวนมาก และจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมที่แข่งขันได้ทันเวลา

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย นักยุทธศาสตร์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมนำเสนอข้อมูลงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครั้งที่ 1 เสวนาหัวข้อ การจัดทำแผนที่นำทางด้านมาตรวิทยาเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งอนาคต จัดขึ้นที่ โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา จัดงานโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

โดยการเสวนาครั้งนี้ ดร.ธนาคาร ได้ชี้ให้เห็นถึงนโยบาย เป้าหมาย แนวโน้ม ความท้าทาย และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีในอนาคต ที่ผ่านมาได้มีการกำหนดนโยบาย และทางหน่วยงานให้ทุนได้มีการให้การสนับสนุนด้านการให้ทุนวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมระบบคมนาคมแห่งอนาคต อุตสาหกรรมรถไฟ และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในประเทศ และเริ่มเห็นผลผลิตออกมาจำนวนหลายโครงการ ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้อีกหลายเท่าตัว โดยเวทีการเสวนาฯ ได้มีข้อสรุปว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง รถไฟ รวมถึงระบบขับขี่อัตโนมัติ เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนในประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานด้านการทดสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย (NQI) จำนวนมาก ต้องมีการสอบเทียบ ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายและลำดับความสำคัญที่ชัดเจน และจำเป็นต้องมีการหารือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งหาข้อสรุปในแต่ละเรื่องที่สำคัญ การจัดทำแผนที่นำทางเฉพาะทางจึงมีประโยชน์และต้องการได้รับการสนับสนุนในระดับที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดการสร้างและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมใหม่ของไทยได้ในระยะยาว

Tags:

เรื่องล่าสุด