EP. ที่แล้ว สอวช. ได้นำเสนอถึงสถานการณ์ ปัญหา ข้อจำกัด และอุปสรรคของ Social Enterprise (SE) ไทย ไปแล้ว ใครที่พลาดเนื้อหาส่วน EP.1 ““Social Enterprise” คำคุ้นหู ที่ สอวช. จะชวนมาทำความรู้จักให้มากขึ้น” สามารถเข้าไปติดตามอ่านกันก่อนได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/19369/
สำหรับ EP. นี้ สอวช. จะมาปิดท้ายด้วย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะช่วยขจัดอุปสรรค และสร้างโอกาส SE ไทย ผ่าน 7 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จะมีข้อเสนออะไรบ้างนั้น ไปชมพร้อม ๆ กันเลย
1. การจัดตั้ง Social Enterprise Academy เพื่อสนับสนุนและบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมรุ่นใหม่
จะทำหน้าที่สนับสนุนและบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน องค์ความรู้ พี่เลี้ยงและที่ปรึกษา มีผู้บ่มเพาะและเร่งการเติบโต (Incubators and Accelerators) ทั้งในด้านเงินทุน องค์ความรู้ ตลาด กฎระเบียบ รวมถึงทำหน้าที่พัฒนากลไกในการสนับสนุนข้อมูล องค์ความรู้งานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมกับนักวิชาการ และหน่วยงานในระบบนิเวศธุรกิจเพื่อสังคม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ควรส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาและการเสริมสร้างทักษะ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผ่านโปรแกรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทางสังคม เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา พัฒนาไอเดียแก้ไขปัญหาสังคม เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม และวางแผนสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก พรบ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 เพื่อปลดล็อกการนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจเพื่อสังคม สนับสนุนทุนวิจัยให้กับนักวิจัยโดยตรงเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคม รวมถึงส่งเสริมงานวิจัยและการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับวิสาหกิจเพื่อสังคม ตลอดจนการพัฒนาฐานข้อมูลตัวชี้วัดด้านสังคมต่าง ๆ
แนวทางเหล่านี้ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมนำไปพัฒนาต่อเป็นโมเดลทางธุรกิจของตัวเองได้
ผู้กำหนดนโยบายควรสนับสนุนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมขยายผลกระทบทางสังคม โดยเฉพาะการปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งต้องการการสนับสนุนทั้งเงินทุนและองค์ความรู้ ตลอดจนช่วยสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ ให้เกิดการทำซ้ำในพื้นที่ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ควรส่งเสริมมการแบ่งปันความรู้ระหว่างวิสาหกิจเพื่อสังคม และธุรกิจทั่วไป รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในวงกว้าง เพื่อดึงการสนับสนุนจากสังคมที่จะเอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย และสร้างผลกระทบทางสังคมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เพิ่มศักยภาพวิสาหกิจเพื่อสังคม การเข้าถึงตลาดผู้บริโภค (B2C) และตลาดภาคเอกชน (B2B) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและการตลาดให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยการเติมเต็มความรู้ทางธุรกิจและการตลาดยุคใหม่ ส่งเสริมให้ดำเนินนโยบายกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนให้มีการจัดซื้อจัดจ้างร่วมกับภาคเอกชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมกับกิจการเพื่อสังคม โดยเฉพาะการเชื่อมวิสาหกิจเพื่อสังคมเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจต่าง ๆ
ภาครัฐควรปลดล็อกข้อจำกัดทางกฎหมาย โดยการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐสามารถให้เงินสนับสนุนตั้งต้นเข้าสู่กองทุนฯ ได้ หลังจากนั้น ภาครัฐควรมอบเงินทุนตั้งต้นให้กับกองทุนฯ เพื่อนำไปบริหารจัดการและสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยอาจเป็นลักษณะการใช้เงินจากกองทุนอื่น ๆ ที่ช่วยจัดสรรตามวัตถุประสงค์เดิมของกองทุนและที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถบริจาคให้กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สมุดปกขาว “กลไกการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”