กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight: APEC CTF) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ APEC STI Strategic Foresight Workshop 2024 : Net-zero Emissions ระหว่างวันที่ 23 – 25 มกราคม 2567 ณ The Pago Design Hotel Phuket จังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 9 เขตเศรษฐกิจเอเปค ได้แก่ Brunei Darussalam, People’s Republic of China, Chinese Taipei, Japan, Malaysia, Peru, Republic of Korea, Thailand และ The United States
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวต้อนรับผู้แทนจาก 9 เขตเศรษฐกิจเอเปค และได้เน้นย้ำถึงวัตถุประสงค์และความสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ในการเตรียมความพร้อมแก่ APEC ในการรับมือกับแรงขับเคลื่อนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero emissions) ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเกิดจากแรงขับเคลื่อนสำคัญของความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) การประชุมครั้งนี้นอกเหนือจากจะเสริมสร้างเครือข่ายผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึก การแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีของแต่ละเขตเศรษฐกิจ และการตั้งเป้าร่วมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI) ต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโครงการ Self-funded APEC Science Technology and Innovation Strategic Foresight (Project Number: PPSTI 05 2023S) ภายใต้ความเห็นชอบของ APEC’s Policy Partnership for Science, Technology and Innovation (PPSTI) ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในเขตเศรษฐกิจเอเปค
ประเด็นสำคัญในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ตลอดทั้ง 3 วัน ประกอบด้วยประเด็นสำคัญเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 1. Energy Demand Management 2. Energy Transition 3. Green Economy 4. Carbon Emission Sinks และ 5. Off-set Policies
ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ รองผู้อำนวยการ สอวช. และ Executive Director APEC Center for Technology Foresight ยังได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของการใช้เครื่องมือคาดการณ์อนาคตเข้ามามีบทบาทในการมองประเด็นสำคัญที่จะเกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางรองรับในรูปแบบต่าง ๆ ความสำคัญของการสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับ APEC ที่จะสามารถผลักดันให้การขับเคลื่อนด้าน STI มีความเข้มแข็งมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้นำเสนอข้อริเริ่มสำคัญ และเสนอแนวทางความร่วมมือด้าน STI เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero emissions) ในระดับ APEC ต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการ APEC STI Strategic Foresight Workshop 2024 : Net-zero Emissions ครั้งนี้ เป็นการจัดงานที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral event) โดยศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปคได้ทำการชดเชยคาร์บอนเครดิตปริมาณ 21 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากโครงการผลิตพลังงานชีวมวลมิตรผล (ด่านช้าง) เป็นการชดเชยคาร์บอนแบบรับรองตนเอง (Self Declaration) โดยใช้ แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” ซึ่งเป็นเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
รับชม Highlight ของการประชุมได้ที่ https://youtu.be/y6bO06Kfr3w
ข้อมูลเพิ่มเติม https://apecctf.org/