ครบรอบ 5 ปี สอวช. ทั้งที เรามีสรุป “5 ทิศทาง นำ อววน. พัฒนาไทย หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง” มาเล่าให้ฟัง
1. ยกระดับประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยมี 2 เป้าหมาย คือ
ผ่านการออกแบบกลไกสนับสนุนการยกสถานะทางสังคมในประชากรฐานราก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเยาวชน ให้มีหลักประกันโอกาสทางการศึกษาและเข้าสู่เส้นทางอาชีพ กลุ่มคนวัยทำงาน ให้สามารถเข้าถึงตำแหน่งงานทักษะกลาง-สูง โดยเน้นยกระดับศักยภาพแรงงานเชื่อมโยงสู่การจ้างงาน และกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน โดยส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการชุมชน สร้างเครือข่ายที่มีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ให้มหาวิทยาลัยมาเป็นพี่เลี้ยง นำเอาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เข้าไปหนุนในการพัฒนาอาชีพ
สอวช. ส่งเสริมผู้ประกอบการให้ปรับตัวตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศและนานาชาติ โดยตั้งเป้าหมายการทำงาน คือ “50% ของบริษัทส่งออกบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และมีแผนสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)” โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนผ่านการสร้างเมืองต้นแบบที่ จ.สระบุรี ให้เป็นจังหวัดต้นแบบที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ การพัฒนาให้เกิดมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) พัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยในบทบาทผู้ให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคส่วนต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือของมหาวิทยาลัยในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัย และขยายการให้บริการออกไปสู่สังคม
สอวช. ได้ออกแบบระบบสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์ม Upskill /Reskill /New Skill (URN) : STEM One Stop Service (STEM-OSS) ระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศไทย (E-Workforce Ecosystem (EWE) Platform) ที่เป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญด้านกำลังคนสมรรถนะสูงให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการปลดล็อกข้อจำกัดในการจัดการศึกษาด้วยการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่ต่างไปจากมาตรฐานเดิม ผ่านการทำหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ด้วย
สอวช. มีแนวทางดำเนินการปฏิรูประบบ อววน. ทั้งในมิติ โครงสร้างของหน่วยงาน ระบบงบประมาณและการประเมินผลนโยบาย โดยได้กำหนดการดำเนินการที่สำคัญ คือ 1. จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านศิลปะ สุนทรียะ อารยะ เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 2. จัดทำ National Quality Infrastructure (NQI) System Alignment เพื่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ตลอดจนการพัฒนาการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ การปรับปรุงการให้บริการ การปรับปรุงมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
นอกจากนี้ ยังต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างภาคการเกษตร และภาคบริการของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวขึ้นสู่ต้นน้ำ ลดการขายสินค้าในรูปวัตถุดิบ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นของเราเอง เพื่อปรับปรุงคุณภาพและแปรรูปสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการตามทิศทาง อววน. ข้างต้น สอวช. เชื่อว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้