🏭☁️ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หลายฝ่ายร่วมหาทางแก้ไข เช่นเดียวกับไทย ที่วันนี้จะพาไปรู้จักกับแนวทางการศึกษาที่นอกจากจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังสามารถนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอลได้อีกด้วย
พาส่อง 7 แนวทางการศึกษาการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล
🔸หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน มาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นจากอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตไฟฟ้า การเกษตรกรรมและปศุสัตว์ และการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยล้วนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้มีการประกาศมุ่งสู่เป้าหมายที่จะบรรลุ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050” ซึ่งแนวทางในการนำประเทศไปสู่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืนคือ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาสนับสนุน รวมถึงการสร้างต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน และชุมชน
🔸ในส่วนการสร้างต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำในพื้นที่ที่มีศักยภาพ กระทรวง อว. โดย สอวช. ได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufactures Association: TCMA) สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (Thailand Concrete Association: TCA) และภาคีต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox)” โดยดำเนินการด้านนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาสนับสนุนการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับประเทศไทย จึงได้เกิดโครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) ระหว่าง สอวช. กับ สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ สนับสนุนการดำเนินการ Saraburi Sandbox ซึ่งหากมีการดำเนินการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ผลิตภัณฑ์เมทานอลอย่างแพร่หลาย คาดว่าจะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไทยลงได้ถึง 12 ล้านตัน
🔸โครงการนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยน “วิกฤติโลกร้อน” ให้เป็นโอกาสในการพัฒนา “เศรษฐกิจสีเขียว” ที่จะช่วยทั้งลดก๊าซเรือนกระจก และยังได้พัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ มีอะไรบ้าง?
อุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 31
7 แนวทางการดำเนินโครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล จะช่วยเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนานโยบาย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ และสนับสนุนการดำเนินการ Saraburi Sandbox โดยเป็นหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนเทคโนโลยีสีเขียวในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของพื้นที่จังหวัดสระบุรี
โดยการศึกษาจะครอบคลุมเกี่ยวกับเมทานอลที่ผลิตได้จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการใช้ก๊าซไฮโดรเจนร่วมด้วย ทั้งในด้านความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี การวิเคราะห์ศักยภาพตลาด ความคุ้มทุน ภาพรวมของตลาด ราคาของสินค้า Value chain ปริมาณอุปสงค์และอุปทาน และข้อจำกัด กฎหมายต่าง ๆ ของเมทานอลจากการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการลงทุนเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1. การวิเคราะห์ปริมาณและความสามารถในการผลิตไฮโดรเจนในประเทศไทย
2. การวิเคราะห์ปริมาณและความสามารถการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ในประเทศไทยและในสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox)
3. การวิเคราะห์ปริมาณและความสามารถในการใช้งาน Methanol ในประเทศไทย
4. นโยบาย และ Roadmap ของประเทศไทย ในการทำ Carbon Neutrality และการอัปเดตข้อมูลการประชุมประเทศภาคี COP28
5. การทำวิจัยเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือภาษีคาร์บอน Carbon Credit ในประเทศไทย
6. การทำวิจัยเกี่ยวกับ Carbon Capture and Utilization
7. ออกแบบแนวทางการเชื่อมโยงการใช้ข้อมูลจากการศึกษากับงานสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox)
ที่มา : โครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การบูรณาการความร่วมมือการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) ระหว่าง สอวช. (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ) กับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย
How to Avoid a Climate Disaster: The Solutions We Have and the Breakthroughs We Need (2021) by Bill Gates