messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » สอวช. ภายใต้กระทรวง อว. เข้าร่วมเสวนาการใช้ประโยชน์จากโครงการเศรษฐกิจหมุนเวียนระดับอาเซียนที่มีอยู่เพื่อเร่งรัดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับประเทศและท้องถิ่น ในการประชุมเศรษฐกิจหมุนเวียนอาเซียน 2024 หรือ ACEF 2024

สอวช. ภายใต้กระทรวง อว. เข้าร่วมเสวนาการใช้ประโยชน์จากโครงการเศรษฐกิจหมุนเวียนระดับอาเซียนที่มีอยู่เพื่อเร่งรัดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับประเทศและท้องถิ่น ในการประชุมเศรษฐกิจหมุนเวียนอาเซียน 2024 หรือ ACEF 2024

วันที่เผยแพร่ 4 ตุลาคม 2024 49 Views

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่อความยั่งยืน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ “Circular Economy in ASEAN – Harnessing the Potential of Regional Integration and Cooperation” พร้อมนางสาวชณิภรณ์ เรืองฤทธิ์ และนางสาวศิริลักษณ์ เจริญรัมย์ ได้เข้าร่วมในการประชุมเศรษฐกิจหมุนเวียนอาเซียน 2024 หรือ ASEAN Circular Economy Forum 2024 (ACEF 2024) ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน Sustainability Expo 2024 ระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

โดยการประชุมเศรษฐกิจหมุนเวียนอาเซียน 2024 จัดโดยศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue: ACSDSD), C asean, Sustainability Expo และกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน (Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument: E-READI) จัดร่วมกับมูลนิธิ Hanns Seidel โดยมีความร่วมมือกับประเทศฟินแลนด์ (ภายใต้โครงการ Team Europe Initiative/TEI) และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสหภาพยุโรปภายใต้โครงการ Green Team Europe Initiative (โครงการ GIZ, เดนมาร์ก, TAF GTEI) เป็นการประชุมสัมมนาที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและโครงการต่าง ๆ จากภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรปจะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีที่นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI) สามารถดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งครอบคลุมการจัดหาเงินทุน การพัฒนาศักยภาพ มาตรฐานทางเทคนิค การสนับสนุนผู้ประกอบการ และการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

ในการประชุมวันที่ 2 ตุลาคม 2024 เป็นการประชุมเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการในเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านนโยบายระดับชาติและระดับอาเซียน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการรวมกลุ่มและความร่วมมือในภูมิภาคด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดย สอวช. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับประเทศและระดับอาเซียน ภายใต้หัวข้อ “How existing ASEAN-level CE initiatives can be leveraged to accelerate circular policies and practices at national and local levels” ร่วมกับ 4 ท่าน ได้แก่ Ms Junie Lutian, India & SEA General Secretary, Danone, MalaysiaMr Sudip Ranjan Basu, Chief of the sustainable business network in the Trade, Investment and Innovation Division, UNESCAP, Thailand Ms Evelyn B. Taboada (Philippines): Circular Economy TVET for the Private and Informal Sector Mr Chris Humphrey, Executive Director, EU-ABC, Singapore โดย ดร.ศวณีย์ ได้กล่าวว่า สอวช. ซึ่งเป็นหน่วยงานนโยบาย มุ่งเน้นการใช้ อววน. เข้ามาสนับสนุน ดังนั้นการทำงานที่ดำเนินการจะดูภาพใหญ่ ออกแบบระบบนิเวศนวัตกรรม หรือเรียกการทำงานในลักษณะ Ecosystem Builder เพื่อให้การทำงานสอดรับกันในหลายภาคส่วนและข้าม Sector อย่างเป็นภาพระบบ เพื่อสามารถระบุปัจจัยสำคัญที่จะดำเนินการได้ และเริ่มจาก Champion เพื่อให้เป็นเคสตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จขับเคลื่อนส่วนอื่นๆ ต่อไปได้ซึ่งระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย ได้ถูกจัดทำภายใต้สมุดปกขาวกรอบนโยบายนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนวิสัยทัศน์ พ.ศ. 2573 (Circular Economy Innovation Ecosystem: Vision 2030) จากการดำเนินงานที่ผ่านมาแม้ว่าระบบนิเวศสำหรับการดำเนินเศรษฐกิจหมุนเวียนยังไม่สมบูรณ์ หากจะขับเคลื่อนเพื่อย่นระยะเวลา ทางแก้ไขคือต้องมุ่งเน้นการดำเนินงานและภาคส่วนที่มีผลกระทบสูง เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหลายประเทศในอาเซียนได้มีเครื่องมือสนับสนุนการทำเศรษฐกิจหมุนเวียนบ้างแล้ว (Enabler) เช่น กฎหมายเศรษฐกิจหมุนเวียน และ EPR (Extended Producer Responsibility สำหรับประเทศไทยถึงแม้ไม่มีเครื่องมือเฉพาะที่ชัดเจน แต่ภาคเอกชนไทยมีความเข้มแข็งและมีความสามารถพอดำเนินการได้แต่ก็ยังมีกำลังไม่มากพอ ในส่วนนี้ต้องมีเครื่องมือเฉพาะเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้สามารถสร้างกลไกตลาดผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียนในตลาดปกติได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการ MSME ยังคงต้องการการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการสร้างการเปลี่ยนผ่านและห่วงโซ่อุปทานที่จะดึงผู้ประกอบการนี้มีแรงกระตุ้นเปลี่ยนผ่านได้ จากข้อมูลที่ สอวช. ร่วมทำงานกับ สสว. และผู้ประกอบการ MSME กว่า 1,400 ราย โดยในปัจจุบันได้พัฒนาตัวชี้วัด GEI (Green Enterprise Indicator) ร่วมกับ สถาบันมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (สมอ.) ภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สถาบันมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (สมอ.) และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) เพื่อเชื่อมโยงสิทธิประโยชน์ทางการเงินและแรงจูงใจ เข้ากับมาตรฐานระดับประเทศ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน MSME ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้ รวมทั้งปัจจุบัน สอวช. ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนพภายใต้ Saraburi Sandbox เพื่อนำไปออกแบบนโยบายต่อไป โดยเป็นการทำงานร่วมระหว่าง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และจังหวัดสระบุรี และคิดว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นสิ่งสำคัญและภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพในการดำเนินการร่วมกัน เพราะมีทั้งตลาดและผู้ผลิตครบวงจรภายใต้ภูมิภาคนี้ แต่ต้องหาแพลตฟอร์มและเครื่องมือเพื่อเชื่อมการทำงานเข้าด้วยกันในแต่ละประเทศสมาชิก ภายใต้เป้าหมายและระบบการประเมินตรวจสอบการทำงานกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

เรื่องล่าสุด