messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » สอวช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นผู้แทนหลักของประเทศไทยเข้าร่วมการเจรจาด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Development and Transfer) และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ในการประชุม COP29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

สอวช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นผู้แทนหลักของประเทศไทยเข้าร่วมการเจรจาด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Development and Transfer) และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ในการประชุม COP29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

วันที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2024 30 Views

ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่อความยั่งยืน และ ดร.ชนิดา แสนสะอาด ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย ฝ่ายนโยบายเพื่อความยั่งยืน เข้าร่วมเป็นองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทย ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ในระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 โดยเป็นผู้แทนหลักของประเทศไทยในเวทีเจรจาด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Development and Transfer) และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

จากการประชุม COP29 ครั้งนี้ ประเด็นการเจรจาที่สำคัญของการดำเนินงานด้านกลไกเทคโนโลยี (Technology Mechanism) ในการประชุมองค์กรย่อยด้านการดำเนินงาน สมัยที่ 61 (The Sixty-first session of Subsidiary Body for Implementation: SBI 61) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส (The sixth session of Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Paris Agreement, CMA) สมัยที่ 6 โดยมีรายละเอียดการพิจารณาประกอบด้วย

  1. รายงานการทำงานร่วมกันระหว่าง Technology Executive Committee (TEC) และ The Climate Technology Centre and Network (CTCN) ตามกรอบการทำงานกลไกเทคโนโลยี ค.ศ. 2023 – 2027 (Joint Work Programme of the Technology Mechanism for 2023-2027) และเป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงปารีส (Paris Agreement)  โดยเนื้อหาสำคัญเสนอถึงความก้าวหน้าในความร่วมมือของแต่ละหน่วยงาน (Bodies) ที่เกี่ยวข้องกับกลไกเทคโนโลยี กิจกรรมและความพยายามการดำเนินงานร่วมกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน (Outcome) ร่วมกันระหว่าง TEC และ CTCN รวมถึงความท้าทายต่าง ๆ โดยในภาคผนวกได้มีข้อเสนอแนะ (Recommendation) ของ TEC และ CTCN และเป็นส่วนหนึ่งที่เสนอในการประชุม CMA 6 ต่อไป
  2. การทำงานเชื่อมโยงระหว่างกลไกทางการเงินและกลไกทางเทคโนโลยี (Linkage between Technology Mechanism and Finance Mechanism) ร่วมกันเสนอแนวทางเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนต่าง ๆ อาทิ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) และกองทุนสภาพอากาศสีเขียว (GCF) ซึ่งเป็นกลไกทางการเงิน ภายใต้ UNFCCC เพื่อยกระดับการใช้กลไกเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น
  3. ยุทธศาสตร์โปรแกรม Poznan (Poznan Strategic Program: PSP) สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้มีการสนับสนุนงบประมาณจาก GEF มากขึ้นและมุ่งเน้นการยกระดับการลงทุนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  4. โปรแกรมการดำเนินงานด้านเทคโนโลยี (Technology Implementation Programme: TIP) ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องจากการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 5 (CMA5) และเป็นการดำเนินการต่อยอดจาก Poznan Strategic Program: PSP ที่สนับสนุนกลไกการเงิน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงเพิ่มการลงทุน (Scaling up Investment ) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้มากขึ้น

เรื่องล่าสุด