messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » ผลงาน “มองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤต COVID-19” คว้ารางวัลผลงานดีเด่น ประจำปี 2563 กระทรวง อว.

ผลงาน “มองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤต COVID-19” คว้ารางวัลผลงานดีเด่น ประจำปี 2563 กระทรวง อว.

วันที่เผยแพร่ 24 ธันวาคม 2020 659 Views

(24 ธันวาคม 2563) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานแถลงข่าวแผนยุทธศาสตร์กระทรวง อว. ประจำปี 2564 และงานมอบรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะ วิกฤติโควิิด-19  ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ซึ่ง ผลงาน “มองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤตโควิิด-19” ของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้รับคัดเลือกจากกระทรวง อว. และรับรางวัลจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน 10 ผลงานเด่นของกระทรวง

ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า ผลงานมองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤตโควิิด-19 จัดทำโดย สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ที่ได้้ร่วมกันดำเนิินการศึึกษาและจััดทำภาพอนาคตประเทศไทยหลัังเผชิิญวิิกฤตโควิิด-19 พร้อมได้จัดทำข้้อเสนอแนะเชิิงนโยบายเพื่่อขัับเคลื่่อนประเทศหลัังสถานการณ์์คลี่่คลาย ผ่่านการปรัับตััวใน 4 ระยะ คือระยะที่ 1 ควบคุม (Restriction) ระยะพยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโรค (เดือนที่ 1-6) ระยะที่ 2 คลี่คลาย (Reopening) ระยะผ่อนคลายการควบคุมและเริ่มกลับสู่การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (เดือนที่ 7 – 12) ระยะที่ 3 ฟื้นตัวและปรับตัว (Recovery) ระยะการฟื้นตัวและปรับตัวภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย (เดือนที่ 13-18 ) และระยะที่่ 4 ปรัับโครงสร้้างใหม่ (Restructuring) ระยะการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการปรับตัวของสังคมใหม่ (เดือนที่19 – อนาคต 5 ปีข้างหน้า)

ผลงานมองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤตโควิิด-19 เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ภาพอนาคตประเทศไทยที่มีโอกาสเกิดขึนหลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 และข้อเสนอแนะแนวทางการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย เพื่อรองรับภาพอนาคตที่อาจเป็นไปได้ โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในปัจจุบัน สอดคล้องกับการวิเคราะห์ฉากทัศน์ (Scenarios) ของประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19 ในรูปแบบ “วิ่งเลียบผา (Risky Business)” คือด้านสุขภาพยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ ขาดแคลนผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้มาตรฐานด้านสุขอนามัย ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างทั่วถึง ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฟื้นตัวด้วยการใช้จ่ายภายในประเทศ ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวด้วยการบริโภคสินค้าบริการและการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยมีแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงได้รับการลงทุนจากภาครัฐเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ ด้านสังคม เกิดการระบาดซ้ำจากนอกประเทศ คือ คนไทยยังรักษามาตรการเว้นระยะห่าง ส่วนภาวะภายนอกประเทศยังคงมีการระบาด ทำให้เกิดการระบาดซ้ำจากกลุ่มคนลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายหรือนักท่องเที่ยว ด้านการศึกษา ผสมผสานการเรียน-การสอน แบบออนไลน์และออฟไลน์ คือ การเรียนการสอนมีทั้งแบบออนไลน์และเข้าชั้นเรียน โดยมีหลักสูตรออนไลน์จากต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ สามารถนำมาเทียบหน่วยกิตในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้

รวมถึงรายงานฉบับนี้ได้นำเสนอบทสรุุปผลการศึกษาเบื้องต้นและข้อเสนอแนะใน 11 สาขาที่สำคัญ ได้แก่ เกษตรต้นน้ำ, อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมการผลิต, การท่องเที่ยว, วิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และผู้ประกอบการนวัตกรรม, เศรษฐกิจฐานราก, เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และเชิงวัฒนธรรม, การบริการภาครัฐ, สุุขภาพ, การศึกษา และสังคม

“รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ชุมชน ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนที่สนใจผู้สนใจ ในการใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ฉากทัศน์ (Scenario) ที่มีโอกาสเกิดอย่างรอบด้าน มาเป็นข้อมููลประกอบการจัดทำยุุทธศาสตร์์ และแผนการดำเนินงานเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด-19 และหลังสถานการณ์คลี่คลาย การมองภาพอนาคตเช่นนี้จะช่วยให้เราสามารถวางยุทธศาสตร์ และได้เตรียมความพร้อมรับกับทุุกสถานการณ์ได้ เพราะประเทศ องค์กร หรือบุคคล จะพัฒนาก้าวหน้าได้จำเป็นต้องมีแผนหรือยุุทธศาสตร์ที่ดี เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุุบันและอนาคต เช่น หากเราทราบฉากทัศน์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างสูงจะสามารถวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย สอวช. อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยในโลกหลังโควิด-19 และบทบาทของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคาดว่ารายงานจะสามารถนำเสนอได้ภายในต้นปี 2564” ดร. กาญจนา กล่าว

Download หนังสือ“มองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤตโควิด-19” https://www.nxpo.or.th/th/report/6300/

Tags:

เรื่องล่าสุด